ไอเทมการเรียนที่ต้องมีในทุกยุคทุกสมัย
หนังสือเรียนเป็นอุปกรณ์การเรียนชนิดหนึ่งที่ทุกปีจะต้องมีการซื้อหนังสือเรียนใหม่ให้ตอบสนองกับการเรียนที่สูงขึ้น ในอดีตพ่อแม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือเรียนใหม่ให้ลูก แต่ปัจจุบันมีโครงการหนังสือยืมเรียน หรือเรียนฟรี 15 ปีที่ช่วยออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหนังสือเรียนลงไป แต่ปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงเนื้อหาในหนังสือเรียนมากขึ้น เราจึงมาดูกันว่ากว่าจะเป็นหนังสือเรียนแต่ละเล่มต้องผ่านอะไรมาบ้าง
ประเภทของหนังสือเรียน
หนังสือเรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ หนังสือเรียนพื้นฐานและหนังสือเรียนเสริมประสบการณ์ แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
- หนังสือเรียนพื้นฐาน
หนังสือเรียนพื้นฐานจะเป็นหนังสือเรียนที่ใช้เรียนในวิชาที่ได้รับการบรรจุลงในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาวิทยาการการคำนวณ วิชาฟิสิกส์ หนังสือเรียนพื้นฐานเหล่านี้เมื่อผลิตออกมาแล้วจะต้องส่งให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบก่อนตีพิมพ์และวางจำหน่าย
- หนังสือเรียนเสริม
หนังสือเรียนเสริมเป็นหนังสือเรียนที่สำนักพิมพ์จัดทำขึ้นเอง เพื่อใช้เสริมในวิชาหลัก หรือเป็นทางเลือกในวิชาเสริมก็ได้ โดยหนังสือเสริมความรู้จะไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจจากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบกิจกรรมได้ตามต้องการ แต่ต้องอิงผลการเรียนรู้จากกระทรวงประกอบเท่านั้นเอง
หนังสือแต่ละประเภทจะมีความพิเศษแตกต่างกันออกไป การพิจารณาเลือกหนังสือจะขึ้นอยู่กับคณาจารย์ประจำวิชาและผู้บริหารของแต่ละโรงเรียน ทำให้หนังสือของโรงเรียนแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน

ขั้นตอนการทำหนังสือเรียน
การทำหนังสือเรียนจะมีความยากง่ายแตกต่างจากหนังสืออื่น ๆ เพราะการเขียนหนังสือเรียนจะต้องพิจารณาจากตัวผู้เรียน ธรรมชาติของวิชา และการประเมินผลจากกระทรวงศึกษาธิการ การเขียนหนังสือเรียนมีขั้นตอนโดยรวม ดังนี้
- วางโครงร่างหนังสือ
การวางโครงร่างหนังสือเป็นการที่ผู้เรียบเรียงกำหนดจำนวนหน้า ธีมของหนังสือ การนำเสนอต่าง ๆ โดยเน้นความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ฟอนต์ที่ใช้ สีสันของปกและรายละเอียดในเล่มจะต้องสบายตา เหมาะแก่การเรียน
- หาผู้เขียนที่น่าเชื่อถือ
เมื่อวางเค้าโครงหนังสือแล้วก็เฟ้นหาผู้เขียน ส่วนมากมักจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือนักวิชาการผู้มีความชำนาญในวิชานั้น ๆ ผู้เขียนจะเขียนเนื้อหาตามหัวข้อส่งกลับมายังสำนักพิมพ์
- เรียบเรียงหนังสือ
นักเขียนจะเป็นผู้เรียบเรียงเนื้อหาที่ได้รับจากนักวิชาการทั้งหมด เพื่อให้เนื้อหาของหนังสือเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการวางเนื้อหา ภาพประกอบ และกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม
- ส่งกระทรวงศึกษาธิการเพื่อตรวจ
เมื่อเรียบเรียงหนังสือจนเสร็จเรียบร้อยทั้งเล่มแล้ว สำนักพิมพ์จะต้องส่งให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบเนื้อหา โดยกระทรวงจะตรวจสอบทั้งเนื้อหา ภาพประกอบ กิจกรรม และตัวชี้วัดที่กำหนดโดยกระทรวงว่าครบถ้วนหรือไม่
- ตีพิมพ์และจัดจำหน่าย
หลังจากปรับแก้และส่งตรวจจนผ่าน ทางสำนักพิมพ์ก็จะได้รับเลขอนุญาตเพื่อจำหน่ายหนังสือเล่มนั้น ๆ เมื่อได้หนังสือออกมาเป็นรูปเล่มแล้ว ทางสำนักพิมพ์จึงจะเริ่มต้นขายหนังสือได้
กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทมากในการคัดกรองหนังสือเรียนขั้นพื้นฐาน หนังสือทุกเล่มจะต้องผ่านการตรวจจากกระทรวงก่อนเสมอ เพื่อให้นักเรียนได้รับองค์ความรู้ที่ครบถ้วนและสมวัย ถึงแม้หนังสือเรียนจะคลาสสิคแต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าถ้าย้ายความรู้ทั้งหมดใส่ใน E-Book น่าจะช่วยลดภาระการแบกหนังสือเรียนของนักเรียน แต่ผู้ใหญ่หลายคนกลับกังวลว่าเด็กจะเผลอกดทางเข้า gclub หรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ ทำให้หนังสือเรียนยังคงเป็นไอเทมประจำการเรียนที่ต้องแบกเหมือนเดิม