หมดยุคทรงผมบังเพื่อนหรือยัง? ช่วงเทศกาลเปิดเทอมแบบนี้ นักเรียนหลายคนตื่นเต้นกับการได้กลับไปเจอเพื่อนและเรียนหนังสือแบบออนไซต์สักที หลังจากต้องเรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน แต่เปิดเทอมได้ไม่เท่าไรประเด็นร้อนที่ถูกพูดถึงในโลกโซเชียลก็กลับมากับทรงผมนักเรียนหญิงถูกระเบียบ เพราะบางโรงเรียนยังบังคับให้นักเรียนตัดผมสั้นและมีบทลงโทษที่เด็ดขาดตั้งแต่วันแรกของการเปิดเทอม บทลงโทษเรื่องทรงผมในโรงเรียน โรงเรียนเป็นสถานที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้กฎเกณฑ์ของสังคม โรงเรียนจึงมักมีกฎระเบียบของตัวเองเพื่อให้นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ กฎระเบียบที่มักจะเกิดปัญหามากที่สุดคือเรื่องทรงผม เพราะคาบเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพบนร่างกายตัวเองด้วย โรงเรียนที่ยังเคร่งเรื่องทรงผมมักจะมีบทลงโทษสำหรับนักเรียนผมผิดระเบียบ ดังนี้ ตัดคะแนนจิตพิสัย คะแนนจิตพิสัยเป็นคะแนนที่ชี้วัดความประพฤติภายในโรงเรียน โดยคะแนนจิตพิสัยจะชี้วัดการผ่านระดับชั้นหากโดนหักคะแนนตนเหลือน้อยเกินไป ตัดผมบางส่วน การทำโทษที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดคือการตัดผม โดยครูผู้รับผิดชอบมักจะตัดผมส่วนที่ยาวของนักเรียนออก โดยหวังว่านักเรียนจะไปแก้ผมที่แหว่งให้สั้นเท่าผมที่ตัด เรียกพบผู้ปกครอง เวลานักเรียนทำผิด การเรียกพบผู้ปกครองเป็นขั้นตอนปกติที่โรงเรียนมักจะทำ นักเรียนที่ผมผิดระเบียบบ่อยครั้งก็โดนเรียกพบผู้ปกครองเช่นกัน จัดตัดผมในโรงเรียน การจ้างช่างให้มาตัดผมนักเรียน โดยนักเรียนออกค่าใช้จ่ายเอง เป็นวิธีการทำโทษกึ่งบังคับให้นักเรียนต้องเข้ารับการตัดผมให้สั้นตามที่โรงเรียนกำหนด การกำหนดบทลงโทษสำหรับเรื่องทรงผมทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกถูกลิดรอนสิทธิของตนเอง กระทรวงศึกษาธิการจึงมีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับทรงผมให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ เน้นความสุภาพเป็นหลัก ทำให้หลายโรงเรียนเริ่มอนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้บ้างแล้ว แต่บางโรงเรียนก็ยังยึดกฎผมสั้นตามเดิม ทรงผมถูกระเบียบนักเรียนหญิงในปัจจุบัน ปัจจุบันทรงผมถูกระเบียบมีความหลากหลายมากขึ้น นักเรียนหญิงสามารถไว้ผมยาวได้ แต่ต้องดูแลความเป็นระเบียบเป็นอย่างดี ทรงผมถูกระเบียบ ได้แก่ ผมสั้นเท่าติ่งหูหรือยาวกว่าเล็กน้อย ผมสั้นแบบไม่บังคับสามารถทำได้ โดยนักเรียนที่ชอบไว้ผมสั้นมากกว่าผมยาว สามารถตัดผมสั้นเสมอติ่งหู หรือยาวกว่าไม่เกิน 5 เซนติเมตร เพื่อคงความเรียบร้อยได้ ถักเปียเก็บผมให้เป็นระเบียบ การถักเปียเป็นการเก็บผมให้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เลือกถักเปียบสองข้างContinue Reading

นางสาวไทยปี 2565 กับบทบาทครูอาสาที่ไม่ควรมองข้าม ผู้หญิงกับความสวยความงามเป็นของคู่กัน แต่นอกจากรูปลักษณ์ที่คนให้ความชื่นชมแล้ว สิ่งที่ผู้หญิงพยายามผลักดันมาโดยตลอดคือการมีบทบาทมากขึ้นในสังคม เวทีการประกวดนางงามต่าง ๆ หลายเวทีก็จัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้สาวงามได้แสดงความคิดเห็น ทัศนคติ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงคนอื่น ๆ บนโลก มานิต้ากับบทบาทการเป็นครูอาสา นางสาวไทยปีล่าสุด (2565) ถือว่าทุบสถิติหลายอย่าง ที่เด่นชัดที่สุดคือการเป็นสาวลูกครึ่งหลังจากเวทีนางสาวไทยไม่มีลูกครึ่งชนะการประกวดมาก่อนเลย ประวัติของมานิต้า นางสาวไทยคนที่ 53 ของประเทศไทยชื่อว่า มานิต้า ดวงคำ ฟาร์เมอร์ เป็นสาวไทยเชื้อสายอเมริกัน เธอเกิดและเติบโตในจังหวัดภูเก็ต มีความชำนาญการใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และเข้าใจปัญหาสภาพสังคมและแนวคิดของคนในสังคมได้อย่างชัดเจน คุณสมบัติอันโดดเด่นที่ทำให้มานิต้าได้รับรางวัลมาจากการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเป็นคนไทย เธอมีแม่เป็นคนเชียงรายจึงมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมชาวเหนือ และการเติบโตที่ภูเก็ตทำให้เธอเข้าใจวัฒนธรรมใต้ด้วย ประกอบกับบทบาทครูอาสาที่ตรงกับบริบทของเวที ทำให้เธอได้รับเลือกเป็นนางสาวไทย มานิต้าและการเป็นครูอาสา มานิต้า หรือนิต้าเรียนจบจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในคณะ Communication Art ทำให้เธอมุ่งมั่นที่จะสอนเด็กนักเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยนิต้ามีอาชีพประจำอยู่แล้ว แต่เลือกที่จะมาเป็นครูอาสาควบคู่ไปด้วย เพราะมีความสุขที่ได้ให้ความรู้แก่เด็ก ๆ และต้องการหยิบยื่นโอกาสให้เด็กหลากหลายมากขึ้น เพราะเด็กบางคนอาจจะชื่นชอบภาษาอังกฤษ แต่ขาดแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงได้ ไฮไลต์ที่สำคัญบนเวทีประกวดContinue Reading

เมื่อระบบการศึกษาคือฆาตรกรที่เลือดเย็นของผู้เรียน การศึกษาเป็นการเปิดโอกาสไปสู่โลกต่าง ๆ ที่กว้างขึ้น เป็นการเตรียมพื้นฐานอาชีพที่สำคัญ ซึ่งระบบการศึกษาจะช่วยผลิตแรงงานมีฝีมืออกสู่ตลาดและเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงอนาคตของชาติให้เติบโตมาอย่างมีคุณภาพ แต่สิ่งที่เด็กในระบบการศึกษาต้องเจอบางครั้งก็เปลี่ยนป็นแรงกดดันที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจในระยะยาวได้ ต้นเหตุปัญหาความเครียดทางการศึกษา ความเครียดเป็นสภาวะอย่างหนึ่งของร่างกายที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึก ทำให้มีความอ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษ เมื่อความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานจะแสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างดัน บางคนก้าวร้าวขึ้น บางคนเซื่องซึม และบางคนเจ็บป่วย สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้การศึกษามีความเครียดสูง ได้แก่ การแข่งขันภายในสถานศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่งจะมีเด็กที่มีความหลากหลายกันหลายคน ภายใต้หลักสูตรการศึกษาเดียวกันที่ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง เด็กที่ความถนัดน้อยกว่าจะเกิดความกดดันสูงกว่าเด็กทั่วไป ความกดดันจากครอบครัว ครอบครัวมักจะตั้งความหวังไว้กับบุตรหลานภายในบ้านเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา ด้วยความหวังว่าการศึกษาจะนำเด็กเหล่านั้นไปสู่อนาคตที่ดี แต่บางครั้งความคาดหวังนี้ก็ทำให้เด็กหลายคนกดดันมากจนเกินไปเมื่อพบว่าตัวเองทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความเข้มงวดของบุคลากร บุคลากรทางการศึกษา หรือเหล่าครูอาจารย์ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนและเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาเป็นอีกตัวแปรที่ทำให้เด็กเกิดความทุกข์และกดดันเป็นอย่างมาก การสอนนักเรียนและนักศึกษาจึงต้องมีหลักจิตวิทยาเข้าช่วย เพราะครูอาจารย์ที่มีความเข้าใจในตัวศิษย์จะเป็นตัวแปรสำคัญในการลดทอนความกดดันได้เช่นกัน ความไม่ถนัดส่วนบุคคล การเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัดสร้างความเครียดและกดดันได้เป็นอย่างดี แต่ระบบการศึกษาไทยไม่เอื้อให้เด็กได้ตามหาความถนัดของตนเองได้เพียงพอ จนอาจจะเดินเข้าสู่การเรียนที่ไม่ถนัดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพในที่สุด การเข้าใจสาเหตุของความเครียดในระบบการศึกษาจะช่วยให้สามารถหาทางออกได้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตนเอง กรณีตัวอย่างผลกระทบจากความเครียดทางการศึกษา ช่วงที่ผ่านมาข่าวเกี่ยวกับนักเรียนและนักศึกษาฆ่าตัวตายเพราะความเครียดทางการศึกษามีอยู่หลายกรณี ซึ่งล้วนแต่สะท้อนภาพความล้มเหลวทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี นักศึกษาป.โท โดดตึกฆ่าตัวตาย การศึกษาส่งผลกระทบเป็นอย่างมากสำหรับผู้เรียน กรณีที่ได้รับเสียงฮือฮามากครั้งหนึ่งคือการที่นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งตัดสินใจกระโดดตึกจากหน้าต่างห้องคอมชั้น 7 ลงมาเสียชีวิตทันที เรื่องนี้ได้รับการพูดถึงเพราะเหตุการณ์เกิดในช่วงงานเกษตรแฟร์ที่คนพลุกพล่านและผู้ต่นก็เป็นนักศึกษาระกับปริญญาโทแล้ว เด็กContinue Reading

เข้าใจโลกหลังโควิดเพื่อผลักดันการศึกษาอย่างถูกวิธี การศึกษาเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะหลังจากเกิดการระบาดของโควิดและมีการสนับสนุนให้เรียนออนไลน์ขึ้นมีนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษาแล้วหลายคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่บ้านมีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการเรียน บางคนอาจจะมีผู้ใหญ่ใจดีสมทบทุนเรื่องอุปกรณ์ แต่หลายคนกลับไม่มีโอกาสเช่นนี้จึง ต้องหยุดการเรียนของตนเองแล้วช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพแทน ในวันที่ 27 กันยายนมีการสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยหลายอย่าง ซึ่งมีความน่าสนใจมาก เพราะช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและทิศทางการศึกษา รวมถึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อจะสามารถกลับมาเรียนต่อได้ทัน แนวทางการจัดการศึกษาออนไลน์ที่เหมาะควร การจัดการศึกษาในปัจจุบันจะเน้นเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรม ซึ่งภายในงานวิชาที่มีการแนะนำให้บรรจุในหลักสูตรการศึกษา ได้แก่ เรื่องประวัติชนชาติไทย วิเคราะห์สังคมไทยในปัจจุบัน นำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของรัชกาลที่ 10 ทั้ง 4 ด้าน ไปปฏิบัติ สานต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผู้วางโครงสร้างการศึกษาต้องหารให้เด็กไทยได้เรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในชีวิต โดยระบุว่าหลายประเทศให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ซึ่งก่อนการบรรจุก็ต้องมาพิจารณาว่าจริงเท็จประการใด การปรับเปลี่ยนการศึกษาหลังช่วงโควิด ประเด็นในส่วนของการปรับเปลี่ยนหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลายจะมุ่งเน้นไปที่ประชาคมโลกมากขึ้น มีข้อแนะนำการศึกษาทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้ เน้นการคิดและยอมรับความจริง หรือ Mindset ก่อนเปลี่ยน Skill-Set เป็นหลักการที่เชื่อว่าทัศนคติที่ถูกต้องมีความสำคัญการมีทักษะที่หาตัวจับได้ยาก เพราะการมองโลกตามความเป็นจริงจะช่วยให้สามารถปรับตัวได้Continue Reading

วิกฤติทางการศึกษาเมื่อโรงเรียนหายไปหลักพัน โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ใช้ในการบ่มเพาะความรู้ให้กับนักเรียน การที่มีโรงเรียนหลายแห่งกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในชุมชนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการศึกษาเข้าถึงคนทุกกลุ่มมากขึ้น และการเข้าถึงการศึกษาที่มากขึ้นจะช่วยให้คนในแต่ละพื้นที่มีโอกาสได้งานที่ดีและประสบความสำเร็จได้ง่าย ส่งผลดีต่อประเทศชาติในระยะยาว แต่เนื่องจากวิกฤติโควิดทำให้โรงเรียนหลายแหล่งต้องปิดตัวลง ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาโดยตรงและได้รับผลกระทบ การศึกษาเป็นการยึดโยงระบบหลายระบบเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ในวงการการศึกษาไม่ได้มีเพียงครูและนักเรียนเท่านั้น แต่ยังมีคนวางโครงสร้างการศึกษาอย่างกระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่วข้องกับการศึกษา เช่น โรงเรียน ในอดีตการศึกษาเล่าเรียนจะกระทำที่วัดและผู้ที่มีสิทธิ์เรียนหนังสือก็มีเพียงผู้ชายเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการเปิดกว้างมากขึ้น โรงเรียนกระจายตัวอยู่ทั่วไป โรงเรียนรัฐบาลจัดทำโดยรัฐบาลและได้รับเงินอุดหนุนในการประกอบกิจการ ทั้งค่าจ้างบุลากร ค่าบำรุงโรงเรียน และค่าจิปาถะอื่น ในขณะที่โรงเรียนเอกชนจะรับภาระค่าใช้จ่ายเอง แต่ก็แลกมาด้วยการจัดเก็บค่าบำรุงการศึกษาในอัตราที่สูงกว่า ในยุคโควิดแบบนี้โรงเรียนเอกชนจึงได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะไม่มีเงินอุดหนุนที่เพียงพอจากรัฐบาล ธุรกิจสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์ในที่นี้หมายถึงหนังสือเรียน หนังสือเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนจริงมีอยู่หลายบริษัท เช่น คุรุสภา อักษรเจริญทัศน์ (อจท.) เอมพันธ์ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายหนังสือเรียน การที่นักเรียนต้องเรียนออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้การใช้สื่อเน้นไปที่สื่อออนไลน์เป็นหลัก หากสำนักพิมพ์ไม่ปรับตัว โอกาสที่จะได้รับผลกระทบก็สูงตามไปด้วย ธุรกิจเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ชุดรักเรียนมีอยู่หลายชุด ไม่ว่าจะเป็นชุดนักเรียนธรรมดา ชุดพละโรงเรียน ชุดยุวกาชาด ชุดเนตรนารีContinue Reading